วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบนิเวศ (ecosystem)

ระบบนิเวศ (ecosystem)

      ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่ง ที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และระหว่าง สิ่งมีชีวิต กับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองโดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร  ในบริเวณนั้นๆ สู่สิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบในระบบนิเวศ ประกอบด้วย 2 ส่วน  ได้แก่
1. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Component)
        - อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน
        - อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ
        - สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและ ความชื้น 

2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic Component) ได้แก่ 
         - ผู้ผลิต (producer) 
         - ผู้บริโภค (consumer) 
         - ผู้ย่อยสลาย (decompser)
     ผู้ผลิต (Producer) คือ สิ่งมีชีวิต ที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เองโดยการเปลี่ยนอนินทรียสารให้เป็นอินทรียสาร ด้วยแร่ธาตุและสสาร ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด   มี 2 ประเภท คือ
               
1. สังเคราะห์อาหารเองได้ ส่วนใหญ่มีการสังเคราะห์แสงเพราะมีคลอโรฟิล ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช (phytoplankton) แต่บางพวกมีการสังเคราะห์เคมี (Chemosynthesis) โดยไม่ต้องใช้คลอโรฟิล เช่น แบคทีเรียบางพวก
            2. ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้ ผู้ผลิตบางพวกสามารถกินสัตว์ได้เพราะต้องการนำธาตุไนโตรเจนไปสร้างเนื้อเยื่อ พืชพวกนี้ได้แก่ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง สาหร่ายข้างเหนียว ส่วนใหญ่ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต
  
      ผู้บริโภค   (Consumer)    หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จำเป็นต้องบริโภค ผู้ผลิต หรือ ผู้บริโภค ด้วยกันเองเป็นอาหาร แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ได้ดังนี้ี้

       ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) คือ เป็นพวกที่ผลิตอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยซากของ สิ่งมีชีวิต อื่นเป็นอาหาร โดยการย่อยสลาย ซากสิ่งมีชีวิต ให้เป็นสารอินทรีย์ได้  เช่นเห็ดทำการย่อยสลายขอนไม้ด้แก่ รา (Fungi) กับ แบคทีเรีย (Bacteria) ดำรงชีวิตโดยการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอินทรีย์สารที่อยู่ในซากพืชซากสัตว์ให้เป็น  อนินทรีย์สาร แล้วดูดซึมส่วนที่เป็นอนินทรีย์สารเข้า ไปใช้เป็นอาหาร บางส่วนจะเหลือไว้ให้ผู้ผลิตนำไปใช้  ผู้ย่อยสลาย   จึงเป็นผู้ที่แปรสภาพสารอาหารจากสารประกอบอินทรีย์ ให้เป็นสารอนินทรีย์    เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการสังเคราะห์สารอาหารได้ เป็นส่วนสำคัญทำให้สารอาหารหมุนเวียนเป็นวัฏจักร สิ่งมีชีวิตชนิดนี้จึงไม่มีระบบย่อยอาหาร

ที่มา : http://eduvc.oas.psu.ac.th/~user18/content.html

ชีววิทยา คือ อะไร (What is Biology ?)

ชีววิทยา คือ อะไร?

       ชีววิทยา (Biology) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆอย่างมีเหตุและผล ซึ่งศึกษาทั้งในเรื่อง ด้านโครงสร้าง ด้านการทำงาน ด้านการเจริญเติบโต ด้านวิวัฒนาการ ด้านถิ่นกำเนิด ด้านอนุกรมวิธาน ด้านการกระจายพันธุ์ และด้านอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต โดยจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุมีผลในทุกแง่ ทุกมุมของสิ่งมีชีวิตโดยละเอียด ซึ่งจะพึ่งพาการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆ

     คำว่า ชีววิทยา (Biology) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก จากคำว่า “bios” ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ “logos” ที่แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล
     เนื่องจากแต่ละเรื่องในเนื้อหาของชีววิทยามีกระบวนการและขั้นตอนการศึกษาที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนมีหลายขั้นตอน ชีววิทยาจึงแตกแขนงเป็นสาขาวิชาต่างๆอีกมากมาย เพื่อจะได้เน้นศึกษาเฉพาะเรื่องของชีววิทยา ทำให้ศึกษาในเรื่องนั้นๆได้ละเอียดและลึกมากยิ่งขึ้น

ที่มา : http://www.thaibiotech.info/what-is-biology.php#more-773